วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

วันตรุษจีน

            
               วันตรุษจีน เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีนนั้น เป็นวันที่ 1 เดือน ของจีนตามวันทาง จันท-คติ ถือเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ของปี และเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจีนจะแบ่งเวลา 1 ปี เป็น 4 ฤดูคือ ชุง แห่ ชิว ตัง

               วันตรุษจีนจะเป็นวันแรกของฤดูชุง หรือฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับเดือนที่ 1,2,3 ของปีเป็นช่วงเวลาที่อากาศดีที่สุด คือ ไม่ร้อน ไม่หนาว และไม่มีฝน วันตรุษจีนจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า วันชุงเจ๋เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรมมาแต่ โบราณ เมื่อหมดหน้าหนาวที่ทำการเพาะปลูกไม่ได้ มาเข้าฤดูใบไม้ผลิที่อากาศดี จะได้เริ่มต้นทำนา ทำสวน จึงมีการบวงสรวงต่อเทพยดา เซ่นไหว้บรรพบุรุษ อธิษฐานให้ได้พืชผลอุดมสมบูรณ์ ให้กิจการงานก้าวหน้า ตรงนี้น่าจะเป็นที่มาของตำนานการไหว้เจ้าในวันตรุษจีน ที่เรียกว่า "ง่วงตั้งโจ่ย"
                 แต่เนื่องจากธรรมเนียม การไหว้วันตรุษจีนจะต่อเนื่องกันมาจากวันไหว้สิ้นปี และมีธรรมเนียม การทำความสะอาดบ้านก่อนหน้าอีกด้วย จึงขออธิบายเป็นเรื่องสืบเนื่องต่อกันว่า การดูวันทางจีนจะเป็นแบบจันทรคติ บางเดือนมี 29 วัน เรียกว่าเดือนสั้น หรือบางเดือนมี 30 วัน เรียกว่าเดือนยาว ทำให้ เดือน 12 ของแต่ละปี บางครั้งก็มี 29 วัน บางปีก็มี 30 วัน แต่คนไทยจะติดเป็นความเคยชินว่า วันสิ้นปีจะเป็น วันที่ 31 แต่ของวันจีนจะไม่ใช่ ตรงนี้ต้องระวัง พอใกล้ ๆ จะถึงสิ้นปี ชาวจีนจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งใหญ่ เรียกว่า ล้างบ้านพานหยากไย่กันแทบทุกซอกมุม
                   ครั้นพอถึงช่วงเทศกาล จะมีการหยุดงาน หยุดกิจการค้า เพื่อทำพิธีไหว้เจ้าที่ ต้องไหว้ 2 วันซ้อน ซึ่งมีไหว้กลางดึกด้วยนอกจากนี้ก็จะได้ใช้เวลาในช่วงนี้ไปเยี่ยมคารวะผู้ใหญ่ญาติมิตรที่เคารพนับถือและเที่ยว พักผ่อน จึงมีสำนวน "วันจ่าย วันไหว้ วันถือให้ลูกไทยแท้สงสัยว่า วันไหนคือวันไหน

วันจ่าย คือ วันก่อนสิ้นปี 1 วัน ใครจะต้องซื้อหาเตรียมของอะไรแล้วยังไม่เรียบร้อย ก็ให้ทำ ให้เสร็จในวันจ่ายก่อนที่ร้านค้าจะหยุดยาว ซึ่งในวันนี้รถจะติดยาวในย่านเยาวราช เพราะเป็นแหล่งที่ชาวจีนนิยมไปซื้อของไหว้และของใช้อื่น ๆ

วันไหว้ คือ การไหว้ในวันสิ้นปี จะเป็นการไหว้เจ้าที่ในตอนเช้า ตามด้วยการไหว้บรรพบุรุษ ในตอนสาย แล้วไหว้ผีไม่มีญาติในตอนบ่าย ซึ่งการไหว้ผีไม่มีญาตินี้ บางบ้านก็ไม่นิยมไหว้ 


วันถือ คือ วันตรุษจีน โดยถือกันว่าในวันนี้ทุกคนจะพูดและทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล เช่น ไม่มีการพูดว่ากัน แต่จะกล่าวคำอวย พร"ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้" แปลเป็นไทยคือ ขอให้โชคดีปีใหม่นั่นเอง การถืออื่น ๆ ที่นิยมว่าถือกัน เช่น ห้ามจับไม้กวาดกวาดบ้าน เพราะอาจเป็นการกวาดสิ่งดีๆ ในบ้านออกไปแล้วกวาดสิ่งไม่ดี เข้ามา วันถือนี้ บางคนก็เรียกวันเที่ยว ซึ่งคงมาจากธรรมเนียมการแต๊ะเอีย ที่พอลูกหลานและลูกจ้างได้เงินแต๊ะเอีย ที่เปรียบได้กับ โบนัสพิเศษ ก็ไปเที่ยวกัน

                 อย่างไรก็ตามในวันตรุษจีนถือเป็นธรรมเนียมที่จะต้องไปไหว้ญาติผู้ใหญ่ เรียกว่า "ไป๊เจีย"และมีการหิ้วส้มโชคดีมามอบให้แก่กัน พร้อมคำอวยพร โดยนิยมกันว่า เอาส้ม 4 ผล ใส่ผ้า เช็ดหน้าผืนใหญ่มาส่งให้เจ้าบ้าน เจ้าบ้านจะรับไว้แล้วนำส้ม 2 ผล ของแขกขึ้นมาเปลี่ยนเอาส้ม 2 ผล ของที่บ้านผลัดให้แทน บางบ้านที่ใช้ขนมอี๊ไหว้เจ้า ก็อาจมีการเตรียมขนมอี๊ไว้เลี้ยงแขกด้ว
                  ส่วนธรรมเนียมการแต๊ะเอียนั้น จะมีเฉพาะบ้านที่มีฐานะดี การให้นี้ คือ นายจ้างให้ลูกจ้าง กับให้กันเองในครอบครัวว่าพ่อแม่ให้ลูกหลาน แต่ถ้าลูกได้ทำงานแล้ว หรือออกเรือนแล้ว ก็จะเป็นฝ่ายให้พ่อแม่ ซึ่งพ่อแม่ที่ฐานะดี ก็มักจะแต๊ะเอีย กลับคืนมาในจำนวนที่เท่ากัน หรือเพิ่มให้มากขึ้น ได้แต่จะให้เป็นเงินของพ่อแม่เอง ไม่ใช่เอาเงินที่ลูกให้มานั้นให้กลับคืนมา ส่วนเขย สะใภ้ ตามธรรมเนียมก็ควรให้น้องสามีและน้องภรรยา ส่วนคน ที่มีศักดิ์เป็นลุง ป้า น้า อา ก็ควรมีแต๊ะเอียให้หลาน ๆ เช่นกัน ธรรมเนียมการแต๊ะเอียนี้ ผู้ใหญ่ที่พิถีพิถันจะเอาเงินใส่ซองแดงอย่างมีเคล็ด คือให้เป็น เลขที่ดีที่สุด เรียกว่า "ซี่ลี่" เพราะถือว่าเป็นเลขสิริมงคล ซี่ กับ สี่ คือเลข 4 ซี่สี่ ก็คือ คู่สี่ นั่นเอง ไปแลกเปลี่ยนกัน เพราะส้มนี้มีคำจีนเรียกว่า "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี การแลกส้ม จึงมีความนัยว่าเอาโชคดีมามอบให้แก่กัน พร้อมคำอวยพร โดยนิยมกันว่า เอาส้ม 4 ผล ใส่ผ้า เช็ดหน้าผืนใหญ่มาส่งให้เจ้าบ้าน เจ้าบ้านจะรับไว้แล้วนำส้ม 2 ผล ของแขกขึ้นมาเปลี่ยนเอาส้ม 2 ผล ของที่บ้านผลัดให้แทน บางบ้านที่ใช้ขนมอี๊ไหว้เจ้า ก็อาจมีการเตรียมขนมอี๊ไว้เลี้ยงแขกด้วย

credit : http://www.abhidhamonline.org/festival/chin.htm



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น