วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วันคริสต์มาส


http://peanutonthetable.com/wp-content/uploads/2012/11/christmas-simple.jpg
             
        ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลที่สำคัญ เทศกาลหนึ่งของชาวคริสต์ เทศกาลสำคัญที่ว่านี้คือ เทศกาลคริสต์มาส ซึ่งเป็นเทศกาลฉลองการประสูติของพระคริสต์เทศกาลคริสต์มาสจะจัดขึ้นในวันที่ 24 และ 25 ธันวาคมของทุกปี ในบางประเทศคริสต์มาสอาจจะเริ่มก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งเดือน ช่วงเวลานี้เรียกว่า "แอดเวนท์" (มาจากภาษาลาติน แปลว่า "กำลังมา") และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 6 มกราคมซึ่งเป็นวันที่นักปราชญ์สามคนที่มาจากทิศตะวันออกนำของขวัญมามอบแก่ พระกุมารเยชู ด้วยเหตุนี้ในคืนวันที่ 6 มกราคม จึงเป็นคืนแห่งการมอบของขวัญในหลาย ๆ แห่งของโลก
         และเมื่อวันคริสต์มาสอันเป็นวัดสุดยอดของเทศกาลมาถึง การเฉลิมฉลองก็จะเริ่มขึ้น ในช่วงเทศกาลนี้บ้านเรือนจะถูกตกแต่งให้สดใสอบอุ่นด้วยต้นคริสต์มาสที่ ประดับประดาเอาไว้อย่าง สวยงาม ที่ใต้ต้นคริสต์มาสจะมีของขวัญวางเรียงไว้มากมาย ประตูบ้านและขอบเตาผิงจะถูกตกแต่งด้วยหรีดกิ่งสนและฮอลลีในเดนมาร์กมีการประ ดับกิ่งเบริร์ชด้วยผลแอปเปิ้ลสีแดงผลเล็ก ๆ และคนแคระตังจิ๋วที่เรียกว่า "พิสเชอร์" ในนอรเวย์และสวีเดนมีการทำสัตว์ตัวเล็ก ๆ จากฟางแล้วผูกด้วยริบบิ้นสีแดง
         เมื่อพูดถึงอาหารในวันคริสต์มาสจะมีอาหารพิเศษมากมายทั้งไก่งวงที่แสนอร่อย เนื้ออบก้อนโตซอสแครนเบอร์รรี ขนมพาย พุดดิง เค้กและคุกกี้เป็นร้อย ๆชนิด ที่ฝรั่งเศสมีการทำเค้กพิเศษเป็นรูปขอนไม้รสชาติเข้มข้นที่เรียกว่า บุช เดอ โนแอล (ขอยไม้คริสต์มาส)และหลังจากอาหารค่ำที่แสนวิเศษผ่านไปนาทีอันน่าระทึกใจก็ มาถึงนั่นก็คือการแกะของขวัญนั่นเอง คริสต์มาสเป็นเทศกาลแห่งความสุขที่มีเรื่องให้พูดถึงไม่รู้เบื่อ สำหรับใครก็ตามที่กำลังจะฉลองเทศกาลนี้ก็ขอให้มีความสุขมาก ๆ




         ทุกวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี จะมีการฉลองรื่นเริงในหมู่คริสต์ศาสนิกชนทั่วโลก กิจกรรมในวันนี้มีแต่สิ่งที่น่ารื่นรมย์ไม่ว่าจะเป็นการกินเลี้ยง แลกของขวัญ แต่งบ้านด้วยต้นคริสต์มาส ร้องเพลงคริสต์มาส ไปจนถึงเอาถุงเท้าไปแขวนรอซันตาคลอสผู้อารีย์นำของขวัญมาใส่ไว้ให้
         วันคริสต์มาสมีความสำคัญคือ เป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาของศาสนาคริสต์ พระเยซูเป็นชาวยิว ประสูติในประเทศปาเลสไตน์ ซึ่งเดิมตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศใกล้เคียงมาเป็นเวลาช้านาน มีนักปราชญืชาวยิวหลายท่านพยากรณ์ว่า วันหนึ่งข้างหน้าจะมีพระบุตรของพระเจ้าเสด็จลงมาปลดแอกชาวยิวให้ได้รับอิสระ ภาพในที่สุดวันนั้นก็มาถึง เมื่อพระเยซูประสูติที่หมู่บ้านเบธเลเฮม แคว้นยูดา มารดาของพระองค์ชื่อมาเรีย (ซึ่งเรารู้จักในนามแม่พระ) บิดาชื่อโยเซฟมีอาชีพเป็นช่างไม้
         พระเยซูทรงพระปรีชาสามารถมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์สามารถโต้ตอบกับพระชาวยิว ในด้านศาสนาได้อย่างฉะฉาน ชีวิตในตอนต้นของพระองค์ดำเนินไปอย่างเรียบง่ายทรงมีอาชีพเป็นช่างไม้ช่วย บิดา จนพระชนมายุราว 30 พรรษา จึงเสด็จออกประกาศคำสอนและทรงรักษาคนป่วยประเภทต่าง ๆเช่น คนตาบอด ง่อยเปลี้ย ให้กลับเป็นปกติดังเดิม
         ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเช่นเดียวกับศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ 



เพลงคริสต์มาส

           เริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้น มีทั้งพระสงฆ์และฆราวาสเป็นผู้แต่ง ร้องเป็นภาษาลาติน ลักษณะของเพลงเป็นแบบสง่า เน้นถึงความหมายของการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า แต่ในศตวรรษที่ 12 ได้มีวิวัฒนาการใหม่ในด้านเพลงนี้ เริ่มในประเทศอิตาลี โดยนักบุญฟรังซิส อัสซีซี และนักบวชคณะฟรังซิสกัน เป็นผู้มีส่วนในการสนับสนุน ให้มีเพลงคริสต์มาสแบบใหม่ ซึ่งชาวบ้านชอบ คือมีท่วงทำนองที่ร่าเริงกว่า และเน้นถึงความชื่นชมยินดี ในโอกาสคริสต์มาสนี้ เพลงเหล่านี้เป็นภาษาลาติน และภาษาพื้นเมือง เพลงหนึ่งที่แต่งในสมัยนั้น (แต่งคำร้องในปี ค.ศ.1274) และยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ 
เพลง Oh Come, All Ye Faithful หรือ Adeste Fideles
         ในภาษาลาติน เพลงคริสต์มาส ที่เรานิยมร้องมากที่สุดในปัจจุบันได้แต่งขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากประเทศเยอรมัน และประเทศอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ เพลงที่มีชื่อเสียงมากได้แก่
เพลง Silent Night, Holy Night
         ความเป็นมาของเพลงนี้คือ วันก่อนวันฉลองคริสต์มาส ของปี ค.ศ.1818 คุณพ่อโจเซฟ โมห์ เจ้าอาวาสวัดที่โอเบิร์นดอฟ ประเทศออสเตรีย ได้ข่าวว่าออร์แกนในวันเสีย ทำให้วงขับร้อง ไม่สามารถร้องเพลงตามที่ซ้อมไว้ได้ คุณพ่อเองตั้งใจ จะแต่งเพลงคริสต์มาสใหม่ หลังจากแต่งเสร็จ ก็เอาไปให้เพื่อนคนหนึ่งชื่อ ฟรานซ์ กรูเบอร์ ที่อยู่หมู่บ้านใกล้เคียงใส่ทำนอง ในคืนวันที่ 24 นั้นเอง สัตบุรุษวัดนี้ ก็ได้ฟังเพลง Silent Night เป็นครั้งแรก โดยการเล่นกีตาร์ประกอบการขับร้อง ซึ่งกลายเป็นเพลงที่นิยมมากที่สุดทั่วโลก



ซานตาครอส บิดาแห่งวันคริสต์มาส

         ซานตาคลอสที่เรารู้จักคุ้นเคย เพิ่งมีกำเนิดขึ้นมาเมื่อไม่เกิน 200 ปีนี้เอง กลุ่มชนที่สร้างเรื่องราวของวันซาคลอส จนกลายเป็นตำนานสำคัญส่วนหนึ่งของเทศกาลคริสต์มาส คือ ชาวอเมริกันเชื้อสายดัตช์รุ่นบุกเบิกนั่นเอง
         ตำนานเล่าขานเกี่ยวกับซานตาคลอสเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 4 มีเด็กชายคนหนึ่งเกิดในหมู่บ้านไมรา ซึ่งสมัยก่อนตั้งอยู่ระหว่างเกาะโรดส์กับไซปรัส แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านเดมรี มีบ้านเรือนตั้งเรียงรายบนสันทรายใกล้ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
         เด็กชายผู้เกิดในหมู่บ้านเล็ก ๆ มีชื่อว่า "นิโคลัส" ชีวิตของเขาอยู่บนกองเงินกองทองเพราะพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย ไม่ช้าไม่นานพ่อแม่ก็ถึงแก่กรรม ทรัพย์สินจึงตกเป็นของเขาเพียงผู้เดียว แต่น่าแปลกที่นิโคลัสกลับมีใจโอบอ้อมอารีต่อคนยากคนจน ชอบแจกสมบัติช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากจนกลายเป็นขวัญใจของคนทุกเพศทุกวัย
         ครั้งนั้นก้อยังมีครอบครัวของชายชราคนจนครอบครัวหนึ่ง กำลังมีปัญหาด้วยบุตรสาวทั้งสามต้องการแต่งงาน แต่ไม่มีเงินจัดพิธีให้สมเกียรติก่อนคนสุดท้อง ครอบครัวนี้จึงตกอยู่ในความทุกข์อย่างหนัก
         แต่เมื่อนิโคลัสทราบข่าว จึงนำทองคำใส่ถุง 2 ถุง แอบย่องเข่าไปวางไว้ในบ้านของชายยากจนยามดึกสงัด ทำให้ 2 สาวได้จัดพิธีแต่งงานได้อย่างใหญ่โตสมความปรารถนา ต่อมาก็ถึงเวลาของบุตรสาวคนสุดท้องนิโคลัสก็นำถุงทองแอบมาหย่อนลงทางปล่องไฟ ในยามราตรี เหตุที่ต้องใช้ปล่องไฟเพราะคืนนั้นหน้าต่างปิดสนิท
         จากพฤติกรรมของนิโคลัสเป็นต้นเหตุให้พ่อแม่เด็ก ๆ ในสมัยต่อมา แอบนำของขวัญวางไว้ที่เตียงนอนของลูก ๆ ในตอนกลางคืน แล้วบอกว่า ซานตาคลอสนำของขวัญมามอบให้กลายเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่ยกย่องซานตาคลอสให้ ฝังอยู่ในจิตสำนึกของเด็ก ๆ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันและนี่ก็คือ ตำนานความเป็นมาของ กำเนิดซานตาคลอส บิดาแห่งวันคริสต์มาสนั่นเอง 



credit :  http://www.sirikitdam.egat.com/days/12december/0612.html



วันรัฐธรรมนูญ




           เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ
          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย


ประวัติความเป็นมา




          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ

 
สาเหตุี่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

          -
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
          - หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
          - อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
          - 
รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

           จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ


          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

        -  
พระมหากษัตริย์
        -  สภาผู้แทนราษฎร
        -   คณะกรรมการราษฎร
        -   ศาล

          ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระ มหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีทั้งสิ้น 18 ฉบับ

           รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475"
          และ ฉบับปัจจุุบัน คือ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550" โดยมีทั้งหมด 309 หมวด 


วันรัฐธรรมนูญ

           สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ


กิจกรรมวันรัฐธรรมนูญ 



 
           - มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน

           - มีการจัดงาน "เด็กไทย รักรัฐสภา" พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ




credit : http://hilight.kapook.com/view/18208



วันพ่อแห่งชาติ



  

     วันพ่อแห่งชาติ  5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือ เป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย


      วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาล ผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราช พิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ” 
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นที่ยิ่ง
      
           ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

ความเป็นมาของวันพ่อแห่งชาติ 


   วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่มหลักการและเหตุผลในการ จัดตั้งวันพ่อแห่งชาติ พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น “วันพ่อแห่งชาติ” ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และให้ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ วันพ่อแห่งชาติ
     ด้วยพ่อเป็นบุคคล ผู้มีพระคุณ มีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพ เทิดทูน และตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อนี่เป็นที่มาของการจัด ให้มี วันพ่อแห่งชาติ
  
5 ธันวาวันพ่อแห่งชาติ 

      5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และยังเป็นวันพ่อแห่งชาติ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพ่อแห่งชาติ อีกทั้งทรงเป็นพ่อตัวอย่างของปวงชนชาวไทย ที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงบำเพ็ญคุณานุประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชน ทรงพระมหากรุณาทะนุบำรุงขจัดทุกข์ผดุง สุขพสกนิกรถ้วนหน้า พระองค์ทรงเป็น พ่อแห่งชาติที่อาณาประชาราษฎร์เทิดทูนด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และยึดมั่นในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการทะนุบำรุงชาติบ้านเมืองให้ วัฒนาถาวรสืบไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของวันพ่อแห่งชาติ 4 ประการ คือ

1.       เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

2.       เพื่อเทิดทูนพระคุณของพ่อ และยกย่องบทบาทของพ่อที่มีต่อครอบครัวและสังคม


3.       เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อ

4.       เพื่อให้ผู้เป็นพ่อ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน


ดอกไม้ประจำวันพ่อแห่งชาติ

     วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และ กำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อแห่งชาติ



วันพ่อแห่งชาติมีดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ประจำ


credit :  http://www.dmc.tv/pages/top_of_week/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD2553.html